• ปรับขนาด
    ตัวอักษร
เลขที่บัตรประชาชน :
รหัสผ่าน :

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
ประวัติความเป็นมา
 
ข้อมูลพื้นฐาน ประวัติความเป็นมา วิสัยทัศน์/พันธกิจ ตราสัญลักษณ์
  • สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนชะเอม

    ลักษณะที่ตั้ง
    ตั้งอยู่ในเขตการปกครองท้องที่ เลขที่ 111 หมู่ที่ ๖ บ้านต้นสำโรง ตำบลดอนชะเอม อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ห่างจากที่ทำการอำเภอท่ามะกา ประมาณ ๙ กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดกาญจนบุรี ประมาณ ๓๗ กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันแยกการปกครองออกเป็น 10 หมู่บ้าน และได้ยกฐานะจากสภาตำบลดอนชะเอม เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลดอนชะเอม เมื่อปี พ.ศ. 2539 ตำบลดอนชะเอม มีอาณาเขตพื้นที่อยู่ติดกันท้องถิ่นใกล้เคียง และจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

    อาณาเขตติดต่อ
    ทิศเหนือ           ติดกับ ตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
    ทิศใต้               ติดกับ ตำบลท่ามะกา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
    ทิศตะวันออก    ติดกับ ตำบลสนามแย้ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
    และอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
    ทิศตะวันตก      ติดกับ ตำบลตะคร้ำเอน อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

    เนื้อที่
    โดยเนื้อที่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนชะเอม มีพื้นที่ประมาณ ๙,๔๓๗.๕ ไร่ หรือประมาณ 15.1 ตารางกิโลเมตร เป็นตำบลขนาดกลาง โดยมีพื้นที่แยกเป็นรายหมู่บ้าน ดังนี้
    หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน
    1 บ้านหนองตาแบ
    2 บ้านดอนชะเอม
    3 บ้านดอนสำราญ
    4 บ้านทุ่งมะกรูด
    5 บ้านทุ่งประทุน
    6 บ้านต้นสำโรง
    7 บ้านห้วยใหญ่
    8 บ้านหัวโต่ง
    9 บ้านดอนกลาง
    10 บ้านดงแสลงพัน
  • ตำบลดอนชะเอมในอดีตมีสภาพเป็นป่าดอน มีต้นไม้ชนิดหนึ่งขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นมาก จนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปคือต้นชะเอม ซึ่งตั้งชื่อของตำบลเป็นดอน(ลักษณะของพื้นที่)ชะเอม(เป็นชื่อของต้นไม้) จึงเรียกว่า ดอนชะเอมจนถึงปัจจุบัน
  • วิสัยทัศน์การพัฒนา
    ดอนชะเอมเป็นตำบลน่าอยู่ ด้วยการบริหารจัดการที่ดี
    มีความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ชุมชนเข้มแข็ง
    สุขภาพดีถ้วนหน้า เทคโนโลยีการศึกษาก้าวไกล
    การกีฬาสร้างใจ ให้ห่างไกลยาเสพติด
    ยุทธศาสตร์
    1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
    2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
    3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม
    4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการพัฒนาด้านการศึกษา คุณธรรม จริยธรรมประเพณี ท้องถิ่นไทย
    5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
    6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต

    ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
    พันธกิจ - พัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้เพียงพอ พร้อมดูแล บำรุงรักษาการใช้ประโยชน์จากที่ดิน
    เป้าประสงค์
    1) เส้นทางคมนาคมขนส่งมีมาตรฐานและปลอดภัย
    2) ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการได้รับการพัฒนาให้ครอบคลุมครบถ้วน
    3) มีน้ำสำหรับใช้ในการอุปโภค บริโภคอย่างเพียงพอ
    แนวทางการพัฒนา
    1. การส่งเสริม สนับสนุนและบำรุงรักษาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
    2. พัฒนาการคมนาคมและการขนส่งให้ได้มาตรฐาน สู่ระดับสากล
    3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ปัจจัยการผลิต
    ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
    พันธกิจ - ส่งเสริมอาชีพชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมพัฒนาสถานที่สำคัญให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว รองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
    เป้าประสงค์
    1) ประชาชนมีอาชีพ เพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ สร้างอาชีพใหม่
    2) สินค้ามีคุณภาพ และเป็นที่ต้องการของตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
    3) สถานที่ท่องเที่ยวได้รับการปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน
    4) ประชาชน องค์กรเอกชนให้ความร่วมมือในการดูแลสถานที่ท่องเที่ยวมากขึ้น
    5) ประชาชนมีจิตสำนึกในการร่วมดูแลสถานที่ท่องเที่ยวให้มีความปลอดภัย
    แนวทางการพัฒนา
    1. การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน
    2. การส่งเสริมอาชีพ การเกษตร พัฒนาสินค้าเกษตรล่วงหน้า ยกมาตรฐานสินค้าเกษตรโดยใช้เทคโนโลยี
    ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม
    พันธกิจ - ส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    เป้าประสงค์
    1) สิ่งแวดล้อมมีความสะอาด ปลอดภัย และภูมิทัศน์สวยงามมุ่งสู่ความเป็นเมืองน่าอยู่
    แนวทางการพัฒนา
    1. การอนุรักษ์ ฟื้นฟูและส่งเสริมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    2. การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษ
    ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านการศึกษา คุณธรรม จริยธรรมประเพณีท้องถิ่นไทย
    พันธกิจ - ส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    เป้าประสงค์
    1) สิ่งแวดล้อมมีความสะอาด ปลอดภัย และภูมิทัศน์สวยงามมุ่งสู่ความเป็นเมืองน่าอยู่
    แนวทางการพัฒนา
    1. การอนุรักษ์ ฟื้นฟูและส่งเสริมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    2. การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษ
    ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
    พันธกิจ - พัฒนาการให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง เป็นธรรมและโปร่งใส รวมทั้งส่งเสริมประชาธิปไตยและกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
    เป้าประสงค์
    1) อบต. มีการบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพ ประชาชนได้รับความพึงพอใจในการบริการ
    แนวทางการพัฒนา
    1. การส่งเสริมความรู้และสร้างจิตสำนึก ในการทำงานให้มีธรรมาภิบาลM
    2. การพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ และก้าวทันเทคโนโลยี
    3. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
    4. การส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม
    5. การผังเมือง
    6. การปรับปรุง พัฒนาสถานที่ พัสดุและทรัพย์สินสำหรับการปฏิบัติงานให้ทันสมัย
    7. การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
    ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต
    พันธกิจ - เสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนแบบบูรณาการและมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต
    เป้าประสงค์
    1) เพื่อสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ประชาชนได้รับบริการด้านสาธารณสุขและ สังคมสงเคราะห์อย่างทั่วถึง มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
    แนวทางการพัฒนา
    1. การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
    2. การพัฒนาสังคมและสังคมสงเคราะห์
    3. การให้บริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง